ยังมีสถานที่ สบายๆ สามารถคลายความเครียดจากการเรียน การทำงาน ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และสถานที่นั้นก็คือ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามนั่นเอง
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2542 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับพัฒนาการของสังคม ตั้งแต่ยุคที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (พ.ศ.2511) จนถึงมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ.2517) และเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ.2537) รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมให้สังคมได้รับผลประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์ ทั้งในด้านการปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น การจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
![]() |
แผนที่พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม |
หมายเลย 1 เรือนประยุกต์หลังใหญ่
หมายเลข 2 เรือนประยุกต์หลังเล็ก
เป็นเรือนประยุกต์ขนาดเล็ก ชั้นบนเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม “The University Story” ชั้นล่างเป็นพื้นที่สำหรับจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน
หมายเลข 3 เรือนโข่ง
“เรือนโข่ง” เป็นเรือนหลังเล็กที่มีโครงสร้างเฉพาะของตนแต่สร้างติดกับชานของเรือนใหญ่ (เรือนนอน) ไว้ เมื่อต้องการแยกเรือนก็สามารถรื้อถอนไปสร้างเป็นเรือนหลังใหม่ได้โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างของเรือนใหญ่
เรือนโข่งเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ “ดนตรีอีสาน” และเป็นที่ตั้งของชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หมายเลข 4 เรือนเกย
เป็นรูปแบบเรือนในวิถีชีวิตของชาวอีสานที่มีการต่อเกย (ชาน) ออกมาจากเรือนใหญ่ (เรือนนอน) เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งเป็นเรือนไฟ (ครัว) สถานที่พักผ่อน รับประทานอาหาร ต้อนรับแขก และประกอบพิธีหรือกิจกรรมในวิถีชีวิตของชาวอีสาน ด้านล่างของเรือนใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุหรือเครื่องมือ เครื่องใช้ในการดำเนินชีวิต บางครั้งอาจใช้เป็นคอกสัตว์เลี้ยง เช่น ไก่ วัว ควาย
เรือนเกยเป็นที่จัดแสดงนิทรรสการ “เอกสารใบลาน” ของโครงการอนุรักษ์ใบลานใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เล้าข้าว (ยุ้งข้าว) เป็นสถานที่เก็บข้างเปลือกและผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งเป็นที่เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตและคอกสัตว์เลี้ยง
ตูบต่อเล้า เป็นเรือนชั่วคราวที่ต่อยื่นออกมาจากตูบต่อเล้า เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวใหม่ที่แยกเรือนออกจากเรือนของพ่อแม่แต่ยังไม่มีกำลังที่จะสร้างเรือนใหม่
หรือถ้าไม่มีผู้อยู่อาศัยก็ใช้เป็นสถานที่เก็บวัสดุหรือเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิต
หมายเลข 6 เรือนผู้ไท
เป็นรูปแบบเรือนของ “ชาวผู้ไท” ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรือนโข่ง ต่างกันที่
เป็นรูปแบบเรือนของ “ชาวผู้ไท” ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเรือนโข่ง ต่างกันที่
“ขื่อและคาน” ของเรือนหลังเล็กจะฝากยึดติดกับโครงสร้างของเรือนใหญ่
เรือนผู้ไท เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ “ภูมิปัญญาชาวลุ่มน้ำชี”
หมายเลข 7 ลานกิจกรรม: เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง
หมายเลข 8 สถานีสัตว์
ภายในสถานีสัตว์ ซึ่งเราสามารถให้อาหารสัตว์ได้ด้วยตัวเอง ก็จะมี สัตว์หลายชนิด เช่น
1. กระต่าย
3. กวางดาว
5. ละมั่ง
ภายในมหาวิทยาลัยใช่ว่าจะเต็มไปด้วยความเคร่งเครียดในการศึกษาหาความรู้
แต่ยังมีบริเวณที่ช่วยให้เราได้ผ่อนคลายอารมณ์ ให้บรรยากาศที่สบาย ๆ ใครที่มีเวลาว่าง ก็ขอแนะนำให้มาชมสถานที่แห่งนี้ ทั้งสบาย ทั้งได้ความรู้แบบนี้ เป็นสถานที่ที่ดีมาก ๆ เลยนะคะ